ปัญหาในการเพาะเห็ด



ในการเพาะเห็ดในโรงเรือน มักจะประสบกับปัญหา ต่างๆ ที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตที่จะได้รับด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการรู้จักสภาพปัญหาและวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องจึงเป็นการช่วยลดต้นทุน การผลิตเห็ดได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัญหาที่มักพบในการเพาะเห็ดส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาการผิดปกติดังนี้



1. เส้นใยไม่เดินลงถุงก้อนเชื้อเห็ด อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ :



หัวเชื้อเป็นเชื้ออ่อน หรือ เส้นใยที่นำมาทำหัวเชื้อเห็ดผ่านการต่อเชื้อเห็ดมาแล้วหลายครั้ง จึงทำให้เส้นใยเห็ดอ่อนแอ

แนว ทางแก้ไข –ควรเลือกหัวเชื้อเห็ดที่ ได้จากเห็ดพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง และ ไม่ควรมีการต่อเชื้อบ่อย หรือ เลือกซื้อก้อนเชื้อเห็ดจากแหล่งที่เชื่อถือได้


หัวเชื้อเห็ดมีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปลอมปน จึงทำให้เกิดการแข่งขันในเรื่องของการเจริญเติบโต การใช้อาหารจากก้อนเชื้อเห็ดกับเส้นใยเห็ด

แนวทางแก้ไข –กรณีนี้ผู้เพาะเลี้ยงเห็ดควรหมั่นสังเกตตั้งแต่ในระยะที่เลี้ยงบนอาหารวุ้น ว่ามีเชื้ออื่นเข้ามาปลอมปนในจานเพาะเลี้ยงหรือไม่ และหลังจากนำหัวเชื้อจากอาหารวุ้นไปผลิตหรือขยายเชื้อลงบนเมล็ดข้าวฟ่างแล้ว ต้องไม่มีเชื้ออื่นปลอมปน


วัสดุที่นำมาเพาะอาจมีสารเคมีประเภทสารกำจัดโรคพืชหรือเชื้อราปะปนอยู่ด้วยจึงทำให้ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด

แนวทางแก้ไข – เลือกวัสดุเพาะที่ปราศจากสารเคมีปะปนอยู่ โดยเฉพาะสารกำจัดโรคพืช


วัสดุที่นำมาเพาะมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่างที่ไม่เหมาะสม

แนวทางแก้ไข – ควรปรรับค่า pH ให้อยู่ระหว่าง 6.5 – 6.8 โดยให้มีความเป็นกรดเล็กน้อย เพราะเชื้อราจะเจริญได้ดีในสภาพที่เป็นกรด


ขี้ เลื่อยที่นำมาใช้เพาะมีความชื้นมากเกินไป หรือ มีอาหารเสริมน้อยไป จึงทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ไม่สามารถพัฒนาไปเป็นดอกเห็ดได้

แนว ทางแก้ไข –ควรเตรียมอาหารเลี้ยง เชื้อให้มีความชื้นเพียงพอ(ที่ 70%) เพราะถ้ามีความชื้นมากเกินไปจะทำให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้ออื่นเจริญได้ดี กว่า และควรเติมอาหารเสริมให้เพียงพอในขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะ

2. เส้นใยเห็ดเดินบางมาก (เส้นใยเห็ดเดินแต่เดินบางมาก) อาจเกิดจาก



มีอาหารเหลืออยู่น้อยในก้อนเชื้อเห็ดหรือมีอาหารเสริมน้อยเกินไป

แนวทางแก้ไข – ควรคำนวณสูตรอาหารและใส่อาหารเสริมลงไปให้เหมาะสมตามสัดส่วนที่คำนวณได้



3. เส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงแล้วหยุด สาเหตุเกิดจาก

 

ก้อนเชื้อเห็ดมีความชื้นมากเกินไป ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่ามีน้ำไหลมาอยู่รวมกันบริเวณก้นถุง จึงทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญได้ดี มีกลิ่นเหม็นเกิดขึ้น และอาจเกิดจากเชื้อเห็ดอ่อนแอด้วย

แนวทางแก้ไข – ควรเตรียมวัสดุเพาะให้มีความชื้นพอดี(ที่ 70%)


4. เห็ดออกดอกช้าหลังเปิดถุงแล้ว สาเหตุ เกิดจาก

 

การไม่ปล่อยให้เส้นใยเห็ดมีการรัดตัวก่อนหลังเชื้อเดินเต็มถุง(เปิดดอกเร็ว เกินไป) หรือ อาจมีปริมาณกาซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในโรงเรือนมากเกินไป เนื่องมาจากการระบายอากาศในโรงเรือนไม่ดีพอ

แนวทางแก้ไข –หลังเชื้อเดินเต็มถุง ควรปล่อยให้เส้นใยเห็ดรัดตัว นาน 8-10 วันก่อนนำก้อนชื้อเห็ดไปเปิดดอกและควรมีการระบายอากาศโรงเรือนด้วยการเปิด ประตูหรือหน้าต่างโรงเรือนบ้างเพื่อ ป้องกันการสะสมของคาร์บอนและอุณหภูมิภายในโรงเรือน


5. ดอกเห็ดเกิดแต่ไม่พัฒนาไปเป็นดอก มักจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด สาเหตเกิดจาก

 

เชื้อเห็ดอ่อนแอ หรือ เปิดปากถุงกว้างเกินไป จึงทำให้สูยเสียความชื้นได้ง่าย และดอกเห็ดแย่งกันออกมากเกินไป จึงทำให้อาหารในก้อนเชื้อหมดเร็ว

แนวทางแก้ไข – ไม่ควรเปิดปากถุงเห็ดให้กว้างเกินไป และควรเลือกใช้ดอกเห็ดที่มีลักษณะดี มาผลิตหัวเชื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น