ก่อนเราจะมาเพาะเห็ดหรือนำมาทาน เราลองมารู้จักกับเห็ดกันก่อน
เห็ดคืออะไร
เห็ดก็คือ เชื้อราประเภทหนึ่ง ซึ่งเราเรียกว่าราชั้นสูงและเป็นพืชชั้นต่ำไม่มีโคโรฟิลล์ (chlorophyll) ไม่สามารถสังเคราะห์แสงเองได้ และไม่สามารถปรุ่งอาหารเองได้ เห็ดจะมีวงจรชีวิตที่ซับซ้อนกว่าราทั่วไป โดยเริ่มจากสเปอร์เป็นส่วนที่ขยายเซลล์ เมื่อปลิวไปตกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะเกิดเป็นใย แล้วรวมตัวกันเป็นกลุ่มจนเกิดเป็นดอกเห็ด เห็นไหมครับเห็ดก็คือราแล้วเราจะกินมันได้ไหม ตอบได้เลยครับว่ากินได้ ถ้าเป็นเห็ดที่ไม่มีพิษ แต่ไม่ใช้ว่ามีพิษเราจะกินมันไม่ได้ต้องนำไปผ่านกรรมวิธีก่อน (อันนี้เป็นข้อมูลที่หามา ทางที่ดีอย่าไปกินเลย กินได้แต่เรื่องเยอะ เรากินที่กินได้เรื่องน้อยดีกว่า555) เห็ดถึงเป็นเชื้อราแต่ก็เป็นเชื้อราที่บริสุทธิเราจึงกินได้
![]() |
ส่วนต่างๆของเห็ด |
ส่วนต่างๆของเห็ด
- หมวก (Cap หรือ Pilleus) จะอยู่ด้านบนสุดมีรูปร่างต่างกันไปแล้วแต่สายพันธ์
- ครีบ (Gill หรือ Lamella) มีลักษณะเป็นแผ่นซีกบางๆอยู่ใต้หมวกเรียงกัน เป็นที่เกิดของเมล็ด หรือ สปอร์ (Spore)
- ก้าน (Stalk หรือ stipe) ปลายข้างหนึ่งจะติดกับหมวกมีรูปร่างต่างกันไปแล้วแต่สายพันธ์ แต่เห็ดบางชนิดอาจไม่มีก้าน เช่น เห็ดหูหนู เป็นต้น
- แผ่นวงแหวน (Ring หรือ Annuls) เกิดขึ้นจากเยื่อบางๆยึดติดขอบหมวกกับดอกจะขาดออกเมื่อดอกบานจะเหลือติดกับ ก้านเป็นวงหรือเยื่อบางๆ (Inner veil หรือ Partial Veil)
- เปลือกหรือ เยื่อหุ้มดอก (Volva, Outer Veil หรือ Universal Veil) คือส่วนนอกสุดที่หุ้มหมวกและก้านเอาไว้ในตอนที่เป็นดอกอ่อน เมื่อดอกเห็ดเจริญแล้วจะแตกออก เพื่อให้ก้านและหมวกยืดออกไป ส่วนเปลือกหุ้มจะฝังอยู่ที่โคนมีลักษณะคล้ายถ้วย เช่น เห็ดฟางบางชนิด
- เนื้อ (Context) เนื้อภายในหมวกหรือก้าน อาจจะลื่น เหนียว นุ่ม เปราะ เป็นเส้นใยค่อนข้างแข็งแรง
การจัดแบ่งกลุ่มเห็ด
1.แบ่งตามถิ่นที่อยู่ (habitat) และแหล่งอาหาร (food source)
- พวก Saprophytic mushrooms เป็นเห็ดที่เจริญเติบโต หรือได้อาหารจากการสลายซากพืชซากสัตว์ โดยมีจุลินทรีย์หลายชนิดในการช่วยย่อยสลาย เช่นเห็ดสกุลนางรม เห็ดหอม เห็ดถั่ว เห็ดกระดุมเป็นต้น
- พวก Parasitic mushrooms เป็นเห็ดที่เจริญเติบโตบนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น เจริญบนพืชชั้นสูง ซึ่งมักจะเป็นเห็ดที่เป็นศัตรูพืช เช่นเห็ดในสุกล Amillaria และ Ganoderma Lucidium (เห็ดหลินจือ) เป็นต้น
- พวก Mycorrhiza หรือ Symbiotic fungi ซึ่งไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ ได้แก่
- พวกที่ เจริญเติบโตพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับรากพืชยืนต้น ซึ่งจัดเป็นพวก Ectomycorrhiza เห็ดที่รับประทานได้ที่เป็นพวก mycorrhiza ส่วนใหญ่จะเป็น Ectomycorrhiza เช่น เห็ดตะไคร้ หรือเห็ดหล่มขาว (สกุล Russula) เห็ดตับเต่าดำ (สกุล Boletus) เห็ด Tricholoma matsutak เป็นต้น
- พวกที่ส่วนของเส้นใยเจริญเติบโต อาศัยอยู่ในเซลของรากพืช ไม่ค่อยพบในพวกเห็ดทีรับประทานได้ จัดเป็นพวก Endomycorrhiza
- พวกที่เจริญเติบโตอยู่ระหว่าง Ectomycorrhiza, mycorrhiza และ Endomycorrhiza
- พวกที่มีแหล่งอาหารเฉพาะ เช่นเห็ดที่มีการเจริญสัมพันธ์กับแมลง ได้แก่เห็ดโคน (สกุล Termitomyces) และพวก Cordyceps
- เห็ดที่รับประทานได้ (edible mushroom) มีกลิ่น รสและสี แตกต่างกันซึ่งมีทั้งชนิดที่เพาะเลี้ยงได้ และเพาะเลี้ยงไม่ได้
- เห็ดพิษ (poisonus mushroom) เห็ดที่รับประทานได้บางชนิด จัดเป็นเห็ดพิษได้ หากไม่รู้จักวิธีการบริโภคที่ถูกต้อง และอาการที่เกิดจากการบริโภคเห็ดพิษมีหลายอย่างขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด ที่พบมากได้แก่ เห็ดในสกุลอะแมนิตา (Amanita) เช่น เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก เห็ดเกล็ดดาว เป็นต้น
- เห็ดที่ใช้ เป็นประโยชน์ทางยา (medicinal mushroom) เช่น เห็ดหลินจือ และเห็ดที่รับประทานได้โดยตรงหลายชนิด มีคุณสมบัติทำให้ร่างกายแข็งแรง เช่น เห็ดหอม มีรายงานว่าดอกและสปอร์ มีสารยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัสทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ เนื้องอก (ในหนูทดลอง) เป็นต้น
- เห็ดที่มีคุณสมบัติอื่นๆ เช่นทำสีย้อม เป็นต้น
คุณค่าของเห็ด
- มีโปรตีนสูงกว่าพื้ชผักอื่นๆ ยกเว้น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา
- มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อรางกาย (unsaturated fatty acid)
- มีกรดอะมีโนที่จำเป็นต่อรางกาย (essential amino acid)
- มีแคลอรี่ต่ำ
- มีวิตามิน หลายชนิด โดยเฉพาะ วิตามิน บี1(thiamine) วิตามิน บี2(riboflavin) วิตามินซี (ascorbic acid) ไนอาซิน (niacin) ปริมาณความแตกต่างขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด
- มีส่วนประกอบของเยื้อใย (fiber) และคาร์โปไฮเดรต
- เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น โปแตสเซียม (K) ฟอสฟอรัส (P) โซเดียม (Na) แคเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg)
- มีส่วนช่วย กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันและมีสารต้านมะเร็งอย่างเช่น โพลีแซคคาร์ไรด์ (polysaccharide) และ เยอร์มาเนียม (germanium) ในเห็ดบางชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น