เห็ดโคนญี่ปุ่น (ยานางิ)

เห็ดโคนญี่ปุ่น Yanagi Mutsutake

ชื่ออื่น Yanagi Mutsutake (เห็ดยานากิ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Agrocybe cylindracea (Dc. Ex. Fr.) Maire.
สายพันธุ์ สีขาว , สีน้ำตาลเข้ม
ดอกเห็ดมีสีน้ำตาลอ่อน จนถึงน้ำตาลออกส้ม ก้านดอกสีขาวเนื้อแน่น รสชาติของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะเป็น
เอก ลักษณะเฉพาะตัว คือจะมีหมวกดอกที่เหนียวนุ่มเหมือนเห็ดหอม แต่บริเวณขาของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะกรอบอร่อย เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นเห็ดที่ใช้ประกอบอาหารได้ดีโดยเฉพาะก้านดอกซึ่งมีเนื้อเยื่อยาวและแน่น เวลาเคี้ยว จะได้รสชาติดีคล้ายเห็ดโคน ทำอาหารได้ทั้งผัด ยำ และต้มแกง ไม่เสียรูปร่างของเห็ด ให้คุณค่าทางอาหารสูงเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่นๆ
 
การทำให้เกิดดอกเห็ดและเก็บเกี่ยว
เมื่อ เส้นใยเห็ดเดินเต็มถุง ย้ายก้อนเชื้อเห็ด ไปยังโรงเรือนเพื่อเปิดดอก อุณหภูมิภายในโรงเรือนประมาณ 25-30 ํC และความชื้นประมาณ 80-90 % การเปิดดอกโดยถอดจุกสำลีออก นำถุงก้อนเชื้อมาวางเรียงไว้บนชั้นเพาะ ในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีในช่วงเช้า และบ่าย จะให้น้ำก้อนเชื้อ และบริเวณภายในโรงเรือน วันละประมาณ 2 ครั้ง เพื่อให้มีความชื้นสม่ำเสมอ หลังเปิดดอกประมาณ 5-7 วันจะเกิดดอกเห็ด และสามารถนำไปบริโภคได้

เห็ด ยานางิหรือเห็ดโคนญี่ปุ่น เดิมเป็นเห็ดที่เกิดในท่อนไม้ผุตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการศึกษา และพัฒนาการเพาะเลี้ยงในเมล็ดธัญพืช แล้วเปลี่ยนมาเป็นขี้เลื่อย ที่เพิ่มอาหารเสริมในอัตราที่เหมาะสม ทำให้เห็ดชนิดนี้เจริญได้ดีในเวลาต่อมา เห็ดยานางิ เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี โดยมีลักษณะเนื้อดอก ก้านดอก มีความกรอบแน่น เนื้อคล้ายเห็ดโคน กลิ่นหอมนิยมใช้ประกอบอาหารหลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้นานกว่า 1 สัปดาห์ โดยยังมีความสด รูปร่าง ขนาดน้ำหนัก และสีสันไม่เปลี่ยนแปลง การเพาะเลี้ยง สามารถกระทำได้ง่าย เหมือนการเพาะเห็ดถุงทั่วไป และยังเพาะเลี้ยง ได้ตลอดปี จึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีอนาคต


ปัญหาอุปสรรค

ปัญหาอุปสรรคของการทำเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่นนี้ ก็คือเรื่องของศัตรูเห็ด อันได้แก่ แมลงหวี่
ซึ่ง ก็จะกินเส้นใยและไข่เป็นตัวหนอน วิธีการป้องกันกำจัดก็คือใช้กาวดัก ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผลผลิตที่ได้ของเห็ดแต่ละก้อนมีการกระจายตัวไม่ดีในรอบปี บางช่วงสูงบางช่วงต่ำ บางฤดูจะมีปริมาณมาก บางฤดูจะมีปริมาณน้อย ซึ่งทำให้มีปัญหาเรื่องการจัดการระบบตลาด


                                   การนำไปประกอบอาหาร

เห็ด โคนญี่ปุ่น สามารถที่จะนำมาประกอบอาหารเหมือนกับเห็ดโดยทั่ว ๆ ไป เช่น แกงเลียงเห็ดโคน ต้มยำเห็ดโคนญี่ปุ่น ยำเห็ดโคนกุ้งสด เส้นแก้ว หรือ วุ้นเส้น ชุบแป้งทอด เห็ดโคนผัดน้ำมันหอย หรือกุ้งสด และทำซาลาเปาไส้เห็ด แต่ถ้าเราจะเก็บเอาไว้บริโภคเองนาน ๆ เราก็ต้องนำมาแปรรูปเช่น 
1. นำมาต้มซีอิ๊วหรือดองเค็ม ก็สามรรถที่จะเก็บอาไว้บริโภคได้นานแล้ว 
2. นำมาทำเป็นส่วนผสมของน้ำพริกต่าง ๆ เช่นน้ำพริกเผาเห็ดโคนญี่ปุ่น และที่สำคัญเป็นอาชีพของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรด้วย 
3. นำมาแปรรูปเป็นเห็ดหย็อง เก็บไว้บริโภค ได้นาน และมีรสชาติอร่อยคงเดิม
  
คุณค่าทางอาหาร
ดอกสด 100 กรัม
ให้ความชื้น 89.90 โปรตีน 2.73
ไขมัน 0.048 คาร์โบไฮเดรต 5.08
เยื่อใย 0.487 เถ้า 0.677
แคลเซี่ยม 6.44 เหล็ก 1.60
ฟอสฟอรัส 83.56 วิตามินบี 1 0.006
วิตามินบี 2 0.15 ไนอาซิน 3.11
 
สรรพคุณทางยา
- ต้าน และ ป้องกันมะเร็ง ลดไขมัน และโคเลสเตอรอลในเลือด
- ช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ พิษพวกอนุมูลอิสระ อัลฟาท็อกซิล
- ทำให้ตับแข็งแรง สามารถทำงานได้ดีขึ้น ทำให้อารมณ์ดี การสร้างเม็ดเลือดแดงดี

Article Credit : นางดวงภรณ์ โตอนันต์ | นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น